กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปกปักทรัพยากร
เป้าหมาย
- เพื่อปกปักรักษาพื้นที่ป่าธรรมชาติของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริทั้งหน่วยงานภาครัฐ และ เอกชนที่มีพื้นที่ป่าดังเดิมอยู่ในความรับผิดชอบโดยไม่มีนโยบายจะเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ แต่จะต้องเป็นพื้นที่ นอกเหนือจากพื้นที่ของกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช หรือจะต้องไม่เป็นพื้นที่ที่มี ปัญหากับราษฎรโดยเด็ดขาด
- เพื่อร่วมมือกับกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยที่กรมฯ นำพื้นที่ของกรม ฯ มาสนองพระราชดำริตามความเหมาะสม ตัวอย่างพื้นที่ของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ เช่น พื้นที่ป่าในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ป่าที่ชาวบ้านร่วมใจปกปักรักษา พื้นที่ป่าของสถาบันการศึกษา พื้นที่ป่าของสวนสัตว์ พื้นที่ป่าของเขื่อนต่าง ๆ ภายใต้การดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พื้นที่ป่าของภาคเอกชนที่ ร่วมสนองพระราชดำาริ เป็นต้น โดยการดำเนินงานในพื้นที่ปกปักทรัพยากร ซึ่งทั้งนี้ มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน / คณะอนุกรรมการ / คณะทำงาน อ.พ.สธ. ของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำรินั้นๆ โดย อ.พ.สธ. เป็นผู้สนับสนุนด้านวิชาการ / บุคลากร และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่ร่วมสนองพระราชดำริสนับสนุน บุคลากร / นักวิจัยในการปฏิบัติงานในพื้นที่
แนวทางการดำเนินกิจกรรมปกปักทรัพยกรในพื้นที่ปกปักทรัพยากร
- การทำขอบเขตพื้นที่ปกปักทรัพยากร
- การสำรวจหารหัสประจำต้นไม้ หารหัสพิกัด เพื่อรวบรวมเป็นฐานข้อมูลในพื้นที่ของ หน่วยงานที่ ร่วมสนองพระราชดำริ
- การสำรวจ หารหัสพิกัด และค่าพิกัดของทรัพยากรชีวภาพอื่น ๆ นอกเหนือจากพันธุกรรมพืช เช่น สัตว์ จุลินทรีย์
- การสำรวจ หารหัสพิกัด และค่าพิกัดของทรัพยากรกายภาพ เช่นดิน หิน แร่ธาตุต่าง ๆ คุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ เป็นต้น
- การสำรวจเก็บข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรกายภาพ และทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่
- สนับสนุนให้มีอาสาสมัครปกปักรักษาทรัพยากรในพื้นที่สถานศึกษา เช่นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ในระดับหมู่บ้าน ตำบล สนับสนุนให้ประชาชนที่อยู่รอบ ๆ พื้นที่ปกปักทรัพยากร เช่นมีกิจกรรมป้องกันไฟป่า กิจกรรมร่วมมือร่วมใจรักษาทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากร เป็นต้น
ข้อมูลที่ได้นำมารวบรวมเป็นฐานข้อมูลในพื้นที่ขององค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ หรือเอกชนที่เข้าร่วมสนองพระราชดำริเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
หมายเหตุ
- ข้อมูลที่ได้จากกิจกรรมปกปักทรัพยากร สามารถนำไปจัดการและเก็บเข้าสู่งานฐานข้อมูลใน กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร
- กิจกรรมปกปักทรัพยากร ใช้พื้นที่เป็นเป้าหมายในการดำเนินงานในกิจกรรมนี
- พื้นที่ที่นำมาสนองพระราชดำริในกิจกรรมนี้ ไม่ได้หมายความว่าเป็นการนำพื้นที่นั้นเข้ามาน้อมเกล้า ฯ ถวาย เพื่อให้เป็นทรัพย์สินของ อ.พ.สธ. สำนักพระราชวัง แต่หมายถึงเป็นพื้นที่ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานนั้น ๆ ที่เป็นเจ้าของ แต่ใช้แนวทางการดำเนินงานในกิจกรรมปกปักทรัพยากร และในอนาคตถ้าหน่วยงานนั้น ๆ มี นโยบายในการดำเนินการปรับปรุงหรือต้องการใช้พื้นที่ปกปักทรัพยากร เพื่อใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ ทางหน่วยงาน สนองพระราชดำริฯ นั้น ๆ สามารถดำเนินการแจ้งความประสงค์มายัง อ.พ.สธ. แต่ในกรณีที่เป็นพื้นที่ล่อแหลม ต่อการสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าอาจต้องมีการขอพระราชวินิจฉัยก่อนดำเนินการเปลี่ยนแปลง สำหรับเรื่องการอบรมอาสาสมัคร / ประชาชน / นักศึกษา / นักเรียนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน หมู่บ้าน ในพื้นที่ปกปักทรัพยากร ให้อยู่ในกิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร